ดูเพิ่มเติม กดเลยจ้าภาพเรือพระ สงขลา ปี 66 คลิ๊ก

ทำไมต้องลากพระ ชวนฟังเสวนากันค่ะ 

ประเพณีที่ทำกันในช่วงออกพรรษา ของชาวใต้  ประเพณีลากพระเป็นประเพณีที่เชื่อว่าการลากพระจะช่วยให้เกิดอานิสงส์ผลบุญ ทำให้ฝนตกตามฤดูกาล และการทำบุญจะช่วยส่งผลบุญกุศลให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ประเพณีลากพระยังเป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของคนในชุมชน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมกับประเพณี และแสดงถึงความพร้อมใจที่จะทำบุญทำกุศลรวมถึงความสนุกสนานครื้นเครงในกิจกรรม  หลักฐานเก่าสุดที่เป็นเอกสารเท่าที่พบแล้วเกี่ยวกับการลากพระหรือประเพณีลากพระ คือ บันทึกของภิกษุอี้จริงที่มาหยุดที่นครศรีธรรมราชเพื่อเดินทางต่อไปอินเดีย ซึ่งสมัยนั้นเรียกชื่อว่า ตามพรลิงค์ หรือจีนออกเสียงเป็น “ตั้งเหม่ยหลิง” หรือ “ตันเหม่ยหลิว” หรือ “โฮลิง”เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (พ.ศ.๑๑๐๐ เศษ) กล่าวถึง คนเมืองนี้นำพระพุทธรูปลงในยานพาหนะแล้วช่วยกันดึงเชือกลากไปหรือแบกแห่ไป มีประโคมดนตรี ดังข้อความว่า “พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งมีคนแห่แหนนำมาจากวัดประดิษฐานบนรถหรือบนแคร่ มีพระสงฆ์และฆราวาสหมู่ใหญ่แวดล้อมมา มีการตีกลองและบรรเลงดนตรีต่าง ๆ มีการถวายของหอมดอกไม้และถือธงชนิดต่าง ๆ ที่ทอแสงในกลางแดด พระพุทธรูปเสด็จไปสู่หมู่บ้าน ด้วยวิธีดังกล่าวนี้ภายใต้เพดานกว้างขวาง”   ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

https://www.facebook.com/DCP.culture?locale=ms_MY

ศาลาหลบเสือ เมืองซิงกอร่า สงขลา (อ.สิงหนคร)

วันนี้ ตามรอยหนังสือ ซิงกอร่า เมืองเก่าสงขลา  กันค่ะ เริ่มจาก  ศาลาหลบเสือ หรือ ศาลากลางหน (ทาง) วันนี้ได้มีโอกาส เจอกับ ชาวบ้านในพื้นที่พอดี ลุง เล่าให้ เราฟังว่า ศาลานี้ สร้างไว้ เพื่อจุดประสงค์ เดียวกัน คือ เป็นที่พักของคนที่เดินทาง ไปหา ของป่า ระยะทาง ในอดีต ไกล มาก (ลากเสียง) แปลว่าไกลแน่ๆ  เพราะต้องเดินเท้า  เท่านั้น  เส้นทางนี้ มีสัวต์ป่า ลงมาหากิน เป็นประจำโดยเฉพาะ เสือ   ลุงเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อน เค้ามา แอบ หลบ เสือ กันที่นี่  แหละ  บ้างก็ไว้พัก  ก่อนเดินทางต่อ  แต่ก็ยัง สงสัย ว่า ศาลามันโล่งๆ จะหลบ ได้ งัย  เสือไม่เห็นหรอค๊ะ  ลุงบอก ด้านในจะมี มุม สำหรับไว้หลบ  ก็เลย แอบเข้าไปดู ก็จะเห็น เป็น มุมเล็กๆ พลาง ได้ นิดหน่อย เอาเป็นว่า ในสมัยก่อน ตรงนี้ ก็ คงไม่ได้ โล่งมาก ต้นไม้ก็คงช่วยพลาง ได้ อีกชั้นนึง ใคร อยากแวะไป ก็ เยี่ยมชม ได้นะคะ อีกทั้ง กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2542  พิกัด  https://maps.app.goo.gl/DhcUCXnWeXxT7QBT7  (27 ตุลาคม 2566)

#เขียนด้วยใจ ไม่พอ" จารย์ จุ้ย กล่าว เปิดเรื่องไว้ ให้ ผู้เข้าอบรมออนไลน์ ได้ เริ่มสงสัย มีใจแล้วยังไม่พออีกหรอ

ใช่ค่ะ   เข้าใจว่า ใจ เรา  เอาแต่ คาามพอใจมาเขียน ก็คือการเขียนไปเรื่อยๆ อยากเขียนก็เขียน ไม่ได้ พิเศษอะไร 

การเล่า ผ่าน การเขียน  หรือ ผ่านงานเขียน   ถ้าเป็นเขียนก็ ไม่ได้ พิเศษอะไรมากมายนัก แต่ถ้า งานเขียน มันคือความรับผิดชอบ  มีการคาดหวัง ในผลที่จะเกิดตามมา เช่น คนสนใจ หรือ ตัวเงิน ค่าแรง   นี่คือ การเกริ่น ให้เรา เข้าใจว่า เรา จะ  ใช้ คำไหน ในชีวิตของเรา หรือ ในการ ลงมือ เขียน 

อยากเป็นนักเล่าเรื่อง เพราะอะไร 

เพราะงานที่ทำ ต้องใช้การเล่าเรื่อง ผ่าน ประสบการณ์ ที่ได้ ยิน ได้เจอ ได้ พูดคุย ได้ สัมผัส และทำให้ ผู้ที่ เราจะเล่าให้ฟัง เข้าใจ อย่าง ถูกต้อง และ สามารถ ถ่ายทอดได้   การเล่าเรื่อง หรือ เขียนเรื่อง ของ คนเรา เพียงภาพๆ นึง สามารถ เล่าได้ หลากหลาย มุมมอง มาก จะเล่าแบบ มุมมอง พระเจ้า เห็นทุกอย่างในภาพ ก็ได้ หรือ จะ เป็นตัวละคร ตัวใด ตัวหนึ่ง  ต้นหญ้า ใบไม้ หรือ ก้อนหิน  ใน ภาพ ก็ได้  มุมมอง ของแต่ละ ตัวที่เราเลือกขึ้นมาเล่า ก็จะแตกต่างกันไป  ความสนุก ก็จะ แตกต่างกัน ไป นั่นแหละคือ สิ่งแรกที่ เราต้องคิด ก่อน เล่าเรื่อง ว่า เราจะเล่า ผ่าน อะไร กันดี  ผู้ฟัง ก็มี ส่วน ให้ เราได้ นำมา คิด  ก่อน เล่า ด้วย  อันนี้ เรียกว่า  point of view